ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 2)

///ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 2)

ประกาศฉบับเต็ม (คลิก)

ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)
(ฉบับที่ 2)

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) กำลังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยพบการติดเชื้อในหลายประเทศทั่วโลกกว่า 34 ประเทศ และมีการแพร่กระจายจากคนสู่คนภายในหลายประเทศแล้ว ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เพื่อควบคุมสถานการณ์และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้ออย่างรวดเร็ว

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งได้ออกประกาศมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2563 จึงขอยกระดับมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรด COVID-19 ของกระทรวงฯ ให้สอดรับกับมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้

  1. ให้บุคลากรในสังกัดกระทรวงฯ อาจารย์และนักศึกษา หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศและเขตบริหารพิเศษที่มีความเสี่ยงหรือมีรายงานการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ
  2. บุคลากรในสังกัดกระทรวงฯ อาจารย์และนักศึกษาที่เดินทางกลับมายังประเทศและเขตบริหารพิเศษที่มีความเสี่ยงหรือมีรายงานการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามข้อ 1 ต้องเข้ารับการตรวจร่างกายเพื่อคัดกรองโรค และกรณีที่พบว่ามีไข้หรือมีอาการที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์ และให้หยุดงานเรียนเป็นเวลา 14 วันสำหรับผู้ที่ไม่มีไข้ หรือไม่มีอาการที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคให้สังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิดและหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน การประชุมและการสัมมนาใดๆ เป็นเวลา 14 วันหลังจากกลับถึงประเทศไทยหรือใช้ระบบการเรียนการสอนออนไลน์และการประชุมออนไลน์แทน
  3. บุคลากรในสังกัดกระทรวงฯ อาจารย์และนักศึกษาที่มีไข้ หรือมีอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจ และพบว่ามีความเสี่ยงโดยการใกล้ชิดหรือเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือกับบุคคลที่มีความเสี่ยง ให้ไปพบแพทย์ทีโรพยาบาล ไม่ควรรักษาตัวเองเพื่อป้องกันมีให้แพร่เชื้อได้ต่อไป
  4. ให้บุคลากรในสังกัดกระทรวงๆ อาจารย์และนักศึกษา ดูแลสุขภาพส่วนบุคคลด้วยการหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตาจมูก ปาก โดยไม่จำเป็น สวมใส่หน้ากากอนามัยที่สะอาดเมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ผู้ที่มีอาการไอ จาม ต้องใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
  5. เพิ่มการดูแลสุขอนามัยด้านสถานที่ ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ และสถาบันอุดมศึกษา อาทิ การเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดพื้นทางเดินเข้า-ออกอาคาร ลิพต ห้องน้ำ ด้วยน้ำยาฆ่เชื้อ ตรวจเช็ดทำความสะอาดจุดสัมผัสสาธารณะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ปุมกดลิฟต์ ราวบันได ที่จับหรือลูกบิดประตู อาคาร จัดให้มีบริการเจลล้างมือโดยเฉพาะจุดที่มีการเข้า-ออกอาคาร หน้าลิฟต์ ห้องประชุม และศูนย์อาหาร เพิ่มความถี่ในการดูแลระบบเครื่องปรับอากาศเป็นกรณีพิเศษ ปิดประกาศประชาสัมพันธ์สร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการแพร่ระบาดและการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันเชื้อโรค เป็นต้น
  6. ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ และสถาบันอุดมศึกษาหลีกเลี่ยงกิจกรรมการเรียนการสอน การประชุม การสัมมนาใดๆ ที่มีการเชิญบุคลากรจากประเทศและเขตบริหารพิเศษที่มีความเสี่ยงหรือมีรายงานการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้าร่วมออกไปก่อน รวมทั้งให้ใช้ระบบการเรียนการสอนออนไลน์และการประชุมออนไลน์แทน
  7. ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการชุมนุมนักศึกษาหรือบุคลากรในสังกัดกระทรวงฯ เป็นจำนวนมาก
  8. กระทรวงฯ จะติดต่อขอความร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสุขเพื่อคัดกรองโรคและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ทั้งนี้ ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ รายงานข้อมูลหรือเหตุการณ์ผิดปกติโดยด่วน เพื่อร่วมกันควบคุมสถานการณ์ โดยขอให้จัดส่งข้อมูลได้ที่
กลุ่มกิจการพิเศษ สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา โทร. 0-2039-5562-3 หรือ
กลุ่มงานอำนวยการ สำนักอำนวยการ โทร. 0-2354-5568 หรือ
โทร. 08-5488-7051 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

2020-03-11T11:07:56+00:00