- มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย ได้กำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ปีที่ 5 ประจำปี 2558 หัวข้อ "อนาคตการพัฒนาชุมชนสู่ความมั่นคง ยั่งยืนในกระแสอาเซียน" "The Future of Development toward Stability, Prosperity ad Sustainablility in ASEAN Community"
- ระหว่างวันที่ 23-25 ธันวาคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
- โดยมีวัตถุประสงค์
- 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านพัฒนาที่สอดคล้องนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่ง และยั่งยืน
- 2. เพื่อส่งเสริมให้งานวิจัยด้านการพัฒนาชุมชนเป็นเครื่องมือและกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน รวมทั้งการเตรียมรับและปรับตัวของชุมชนกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
- 3. เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของชุมชนในกระแสอาเซียน
- โดยมีรูปแบบการประชุมประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอบทความรับเชิญโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับชาติ และการนำเสนอผลงานวิจัยทั้งในรูปแบบการบรรยาย (Oral Presentation) และการนำเสนอผลการวิจัยภาค โปสเตอร์ (Poster Presentation) ตลอดจนการจัดนิทรรศการที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คน
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติม และลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ http://cscd2015.kku.ac.th
การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 5
“อนาคตของการพัฒนาชุมชนสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในประชาคมอาเซียน”
The Future of Development toward Stability, Prosperity and Sustainability in ASEAN Community
ระหว่างวันที่ 23 - 25 ธันวาคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ ขอนแก่น
1. หลักการและเหตุผล
ในปลายปีพุทธศักราช 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) เต็มรูปแบบ อันเป็นความพยายามรวมกลุ่มในระดับภูมิภาคของกลุ่มประเทศอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยมีสโลแกนว่าสร้างอาเซียนให้เป็นประชาคมแห่งความเอื้ออาทร และ ร่วมแบ่งปัน มีวิสัยทัศน์เดียวกัน มีอัตลักษณ์เดียวกัน และเป็นประชาคมเดียวกัน “One Vision, One Identity, One Community” โดยมีเหตุผลสำคัญที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง และ เพิ่มอำนาจต่อรอง เพื่อให้อาเซียนที่มีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคนมีความสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้ ท่ามกลางโลกาภิวัตน์ ที่มีการแข่งขันกันสูงโดยเฉพาะกับประเทศมหาอำนาจ อีกทั้งยังสามารถสร้างอำนาจ การต่อรองได้ในระดับสากล การรวมกันเป็นประชาคมอาเซียนจะเป็นความร่วมมือกันใน 3 เสาหลักประกอบด้วย 1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน และ 3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม ซึ่งนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนโดยการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลาย ภายใต้นโยบายต่างๆ 11 ด้าน อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้กับประเทศในทุกระดับ และเป็นการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์และเป้าหมายในการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ต่อไป
มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีบทบาทสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหา และการพัฒนาให้กับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความคาดหวังของสังคมที่จะให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้ ที่จะนำพาและชี้นำสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาที่ดีขึ้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ การพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืนขึ้น โดยกำหนดให้“ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) เป็นหัวข้อหลักในการประชุมวิชาการตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการนำเสนอผลงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งการระดมความคิดเห็นจากนักวิจัย นักวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติตลอดจนภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการหาแนวทางการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน และถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนให้สามารถสร้างความเข้มแข็งเพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนตามวิสัยทัศน์และนโยบายของประเทศ อันเป็นภาพอนาคตของชุมชน สังคมและประเทศชาติ สืบไป
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
2.2 เพื่อส่งเสริมให้งานวิจัยด้านการพัฒนาชุมชนเป็นเครื่องมือและกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนรวมทั้งการเตรียมรับและปรับตัวของชุมชนกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
2.3 เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของชุมชนในกระแสอาเซียนรวมทั้งการพัฒนาอื่นที่จำเป็นของนักวิจัยและนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
3.1 ผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาของนักวิจัยและนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้รับการเผยแพร่ใน แวดวงวิชาการและถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์สู่ชุมชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ
3.2 ได้แนวทางในการพัฒนาชุมชนและสังคมสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในกระแสอาเซียน
3.3 นักวิจัยสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงาน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือประชาสังคม และผู้สนใจ ได้ร่วมแสดงผลงานวิจัยและพัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายในระยะต่อไป
4. รูปแบบการจัดประชุม
4.1 การศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปบทเรียน ต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในมิติต่างๆ (Site Visit and Panel Discussion)
4.2 การปาฐกถาพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติ
4.3 การเสวนาโต๊ะกลม (Inter panel Discussion) เวทีการพัฒนาชุมชนอาเซียน โดย นักพัฒนาจากประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านในชุมชนอาเซียน
4.4 การนำเสนอบทความ/ผลงานรับเชิญของผู้ทรงคุณวุฒิในลักษณะ Semi Panel Symposium
4.5 การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ทั้งในรูปการนำเสนอ Oral Presentation ภาคภาษาไทย (ระดับชาติ) และภาคภาษาอังกฤษ (ระดับนานาชาติ) และ Poster Presentation (ระดับชาติ)
4.6 เวทีนำเสนอภาพอนาคตการพัฒนาของเมือง/ชุมชนท้องถิ่น 4.7 นิทรรศการนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะ Success Model, Success Case
5. ประเด็นและหัวข้อย่อยภายใต้หัวข้อการประชุม
5.1 เศรษฐกิจชุมชน ท้องถิ่น
5.1.1 การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและ SMEs
5.1.2 การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน เครือข่ายการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
5.1.3 การพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และสินค้าทางการเกษตร
5.1.4 การเชื่อมโยงสินค้าเกษตรสู่อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
5.1.5 การคมนาคมและโลจิสติกส์
5.1.6 การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงาน
5.1.7 การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น
5.1.8 การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อกลมกลืนกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
5.1.9 การพัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิตของวัยแรงงาน
5.2 การพึ่งตนเองและการจัดการตัวเองของชุมชนท้องถิ่น
5.2.1 เศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งตนเองของชุมชนท้องถิ่น
5.2.2 การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น
5.2.3 การพัฒนาครอบครัว เครือข่ายองค์กรชุมชน และภาคประชาสังคม
5.2.4 การพัฒนาการศึกษาและการจัดการศึกษาเหมาะสมกับชุมชนท้องถิ่น
5.2.5 รูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับชุมชนท้องถิ่น
5.2.6 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
5.3 อาหารและการเกษตร
5.3.1 ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนท้องถิ่น
5.3.2 อาหารจากภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของท้องถิ่น
5.3.3 อาหารปลอดภัยและอาหารเพื่อสุขภาพ
5.3.4 เกษตรยั่งยืนและเกษตรทางเลือก
5.3.5 การพัฒนาพืชและสัตว์เศรษฐกิจที่เหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น
5.3.6 การพัฒนาการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ
5.4 การเสริมสร้างสุขภาพของคนในชุมชน
5.4.1 การรณรงค์ ป้องกัน การรักษา การเฝ้าระวัง และการฟื้นฟูสุขภาพของคนและชุมชนท้องถิ่น
5.4.2 แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกของชุมชน
5.4.3 การพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพชุมชน
5.4.4 กิจกรรมทางกายและวิถีชุมชน
5.4.5 คุณภาพชีวิตตามช่วงวัย
5.5 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.5.1 ความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่น
5.5.2 การจัดการความขัดแย้งการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ
5.5.3 การบริหารและการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ
5.5.4 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมภาคการเกษตรและภาคการผลิต
5.5.5 การจัดการมลภาวะทางอากาศ ทางน้ำ และขยะของเสียในชุมชนท้องถิ่น
5.5.6 เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
5.5.7 การเปลี่ยนแปลงสภาวะทางภูมิอากาศและการปรับตัวของชุมชน
5.6 สังคมและวัฒนธรรม
5.6.1 วัฒนธรรมและประเพณี Culture and Tradition
5.6.2 ศาสนากับการพัฒนา Religion and Development
5.6.3 ภาษาและวรรณกรรม Language and Literature
5.6.4 ศิลปกรรมและการแสดง Art and Performance
5.6.5 การพัฒนาการศึกษา Educational Development
6. กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนประมาณ 300 คน ประกอบด้วย
6.1 นักวิชาการและนักวิจัยเพื่อการพัฒนาชนบท จากภายในประเทศและภายนอกประเทศ
6.2 ผู้บริหารมหาวิทยาลัย / สถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ
6.3 ผู้แทนหน่วยราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายวิจัยชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรพัฒนา เอกชน ภาคธุรกิจเอกชน และปราชญ์ชาวบ้าน
6.4 นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
อัตราค่าลงทะเบียน สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงาน
ประเภทของการเข้าร่วมประชุม
|
ภายใน วันที่ 16 ตุลาคม 2558
|
ระหว่าง วันที่ 23-25 ธันวาคม 2558
|
นำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ (ภาษาไทย)
|
3,500.-บาท
|
4,000.-บาท
|
นำเสนอผลงานภาคบรรยายระดับชาติ (ภาษาไทย)
|
3,500.-บาท
|
4,000.-บาท
|
นำเสนอผลงานภาคบรรยายระดับนานาชาติ (ภาษาอังกฤษ)
|
4,000.- บาท
|
4,500.-บาท
|
เข้าร่วมประชุม (ไม่นำเสนอผลงาน)
|
3,000.-บาท
|
3,500.-บาท
|
ส่งบทความฉบับสมบูรณ์ภายใน
|
10 ตุลาคม 2558
|
แจ้งผลการพิจารณาตอบรับบทความ ภายใน |
5 พฤศจิกายน 2558
|
ส่งบทความฉบับตีพิมพ์ ภายใน |
20 พฤศจิกายน 2558
|
ช่องทางการชำระค่าลงทะเบียน
โอนเงินเข้าบัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา สำนักงานอธิการบดี
ชื่อบัญชี โครงการ ประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ( cscd2015 )
บัญชีเลขที่ 406-269058-6 เพื่อเป็นการยืนยันการชำระเงิน กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินไปที่
สถาบันวิจัยและพัฒนา โทรสารหมายเลข 0-4320-2221, หรือ 0-4336-2043 โทรศัพท์ 0-4320-2414
หรือทาง E-mail
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.